ประเภทของสื่อวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิคที่ใช้ในการเรียนการสอน แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
แผนสถิติ (Graphs)
ใช้นำข้อมูลที่เป็นตัวเลข เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ และเวลา หรือความสัมพันธ์ของข้อมูล 2 ชนิด แบ่งเป็น
- แผนสถิติแบบเส้น ใช้เส้นแสดงข้อมูลที่ละเอียดถูกต้องรวดเร็วกว่าแบบอื่น ๆ
- แบบสถิติแบบแท่ง ใช้แท่งแทนข้อมูลแต่ละชนิด ซึ่งขนาดของแท่งจะต้อง เท่ากัน ใช้ได้ดีในกรณีที่มีข้อมูลไม่มาก เป็นแบบที่ทำง่ายและอ่านง่าย
- แผนสถิติแบบวงกลม แสดงข้อมูลทั้งหมดภายในวงกลม และแบ่งส่วนด้วยเส้นรัศมีตามปริมาณของข้อมูล ใช้เปรียบเทียบความแตกต่างหรือความสัมพันธ์ของข้อมูล ทั้งหมดในเวลาเดียวกันแต่ไม่ละเอียด
- แผนสถิติแบบรูปภาพ ใช้รูปภาพหรือสัญลักษณ์แบบข้อมูล เร้าความสนใจดี แต่ไม่ละเอียด เพราะจะบอกข้อมูลโดยประมาณ
- แผนสถิติแบบพื้นที่ ใช้พื้นที่ของรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม เพื่อใช้เปรียบเทียบข้อมูล 2-3 อย่าง ซึ่งผู้ดูจะเข้าใจได้เร็ว แต่มีรายละเอียดน้อยมาก
ใช้แสดงความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆ หรือกระบวนการทำงานมีลักษณะเป็นนามธรรม เพราะมีรายละเอียดที่สำคัญ เหมาะใช้กับผู้เรียนที่เรียนในระดับสูงกว่าประถมศึกษา แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1) แผนภาพแบบลายเส้น
2) แผนภาพแบบรูปภาพ
3) แผนภาพแบบผสม
1) แผนภูมิแบบต้นไม้ : แสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งแยกออกได้เป็นหลายสิ่ง
2) แผนภูมิแบบสายธาร : กลับกับแบบต้นไม้ แสดงให้เห็นว่าสิ่งหนึ่งเกิดจาก หลายสิ่งมารวมกัน
3) แผนภูมิแบบต่อเนื่อง : แสดงลำดับขั้นการทำงาน การทำกิจกรรมตามลำดับ
4) แผนภูมิแบบองค์การ : แสดงความสัมพันธ์ของหน่วยงานภายในองค์การ หรือ ระหว่างองค์กร มักนิยมใช้เส้นโยงระหว่าง กรอบสี่เหลี่ยม
5) แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ: เปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างระหว่างแนวคิด รูปร่างลักษณะ ขนาดของสิ่งต่าง ๆ
6) แผนภูมิแบบตาราง : แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับเหตุการณ์
7) แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ : แสดงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นไป ตามเวลา
8) แผนภูมิแบบอธิบายภาพ : มีลักษณะเป็นรูปภาพ และมีลูกศรชี้ส่วนต่าง ๆ ที่มี ตัวอักษรกำกับเพื่อให้ทราบว่าเป็นอะไร
- การออกแบบให้มีลักษณะเด่น เร้าความสนใจ
- ใช้ข้อความสั้น ๆ และภาพประกอบเป็นแบบง่าย ๆ
- สีสะดุดตา ใช้สีตัดกัน แต่ไม่ควรเกิน 3 สี
- ควรมีขนาดใหญ่
- แสดงจุดมุ่งหมายเพียงอย่างเดียว
เป็นการวาด หรือเขียน อาจเป็นภาพสี หรือภาพขาว-ดำ
เป็นภาพที่ถ่ายจากของจริง สถานที่จริง โดยใช้กล้องถ่ายภาพแบบต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์ม และผ่านกระบวนการล้าง อัด ขยายภาพ หรือ ใช้คอมพิวเตอร์ พิมพ์ภาพ ที่ได้มาจากการถ่ายภาพจากล้องระบบดิจิตอล
เป็นภาพที่ผ่านกระบวนการพิมพ์ เช่นภาพโปสเตอร์ หนังสือ เอกสาร ปฏิทิน หรือนิตยสารต่าง ๆ
เป็นทัศนวัสดุที่ใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ แสดงหรือแทนตาม ความหมายของหน่วยงาน มีทั้งที่เป็นเครื่องหมาย รูปภาพ ตัวอักษร หรือการผสมผสานกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น